ในปี 2017 นักขุดเคยรวมตัวกันเพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงกฎของบล็อกเชนที่มีชื่อว่า SegWit (Segregated Witness) เป็นก้าวสำคัญในการช่วยขยายปริมาณธุรกรรมที่ทำได้ของบล็อกเชนบิตคอยน์บนชั้นที่ 2 (Layer 2) เช่น Lightning Network

ซึ่งที่นักขุดเหล่านี้รวมตัวกันมาหยุดยั้งเพราะนักขุดกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบางส่วนจะถูกย้ายออกจากบล็อกเชนหลักจากการเปลี่ยนแปลง (กลัวว่าขุดแล้วได้รายได้น้อยลง)

แต่ในท้ายที่สุด ผู้ใช้งานก็ผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้จนสำเร็จ โดยเปิดใช้งานกฎใหม่ผ่านโหนดรวม (collective node) และทำการกดดันภาคธุรกิจให้เข้ามาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และเพื่อปกป้องตนเอง นักขุดจำเป็นต้องยอมรับและทำตามเสียงของคนหมู่มาก ไม่เช่นนั้นก็เสี่ยงที่จะโดนทิ้งไว้ข้างหลัง

ความเสียหายที่นักขุดสามารถทำกับบิตคอยน์

หากนักขุดพยายามที่จะควบคุมหรือโกงเครือข่ายบิตคอยน์ มันจะเป็นการทำลายความเชื่อมั่นที่ผู้คนมีต่อบิตคอยน์ บิตคอยน์ก็จะกลายเป็นสกุลเงินที่ไร้ค่าในที่สุด ซึ่งนักขุดเองก็เป็นผู้ที่ลงทุนลงแรง ในการซื้อเครื่องขุด ติดตั้งเครื่องขุด และส่วนใหญ่ก็มักจะมีการลงทุนในบิตคอยน์ด้วย

การบ่อนทำลายบิตคอยน์โดยผู้ที่ลงทุนในบิตคอยน์จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล แต่ในทางทฤษฎี นักขุดสามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถขัดขวางเครือข่ายได้

1.ขุดบล็อกเปล่าโดยไม่มีธุรกรรม

นักขุดจะได้รับ Block Reward แต่ไม่ได้รับค่าธรรมเนียมจากการยืนยันธุรกรรม และทำให้เกิดความล่าช้ากับผู้ใช้งานและธุรกิจที่ใช้บิตคอยน์ในการทำธุรกรรม ซึ่งการขุดบล็อกเปล่าไม่ใช่เจตนาของตัวนักขุดเอง แต่เป็นเพราะเหตุผลทางเทคนิคที่ได้อธิบายไว้ในงานวิจัยนี้ https://blog.lopp.net/empty-bitcoin-blocks-full-mempool/ และการขุดบล็อกเปล่าก็เกิดขึ้นหลักสิบครั้งต่อเดือนเป็นปกติ

2.กำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำให้สูงขึ้น

การทำแบบนี้มีผลลัพธ์คล้ายกับการขุดบล็อกเปล่า หากนักขุดบางคนกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสูงกว่าเดิม ซึ่งผู้ใช้งานที่จ่ายค่าธรรมเนียมต่ำกว่านี้จะต้องรอให้นักขุดรายอื่นเป็นผู้สร้างบล็อกและบรรจุธุรกรรมของผู้ใช้งานเข้าไป

หากนักขุดจำนวนมากทำการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่สูง มันจะสร้างแรงจูงใจให้นักขุดรายใหม่เข้ามาและประมวลผลธุรกรรมแทน ทำให้นักขุดที่ทำการยืนยันธุรกรรมที่กำหนดค่าธรรมเนียมไว้ต่ำกว่าได้รับรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนนักขุดที่กำหนดค่าธรรมเนียมไว้สูงก็ยืนยันธุรกรรมได้น้อยลง ในระยะยาวการกำหนดค่าธรรมเนียมก็จะกลับมาอยู่ในจุดสมดุล

3.พยายามทำธุรกรรมซ้ำซ้อน (Double Spending)

หากนักขุดหรือกลุ่มนักขุดรายไหนมีสัดส่วนกำลังประมวลมากกว่า 50% ของเครือข่าย นักขุดพวกนี้สามารถทำการโกงระบบ ด้วยการลองทำธุรกรรมรอบแรก จากนั้นย้อนกลับไปในเวลาสั้นๆ แล้วสร้างบล็อกเชนเวอร์ชั่นใหม่ก่อนที่ธุรกรรมนี้จะเกิดขึ้น และทำธุรกรรมรอบที่สองจากเงินก้อนเดิม

ซึ่งเรื่องการทำธุรกรรมซ้ำซ้อนนี้ไม่มีการยืนยันว่าเคยเกิดขึ้น โดยผลกระทบของมันจะเป็นกลายเป็นการทำลายความน่าเขื่อถือของบิตคอยน์ลงในทันที และอย่างที่เคยบอกไปการที่นักขุดจะเป็นผู้ทำลายบิตคอยน์เสียเองนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะเงินที่ได้จากการโกงระบบนั้น น่าจะเทียบไม่ได้กับเงินต้นทุนที่ลงไป

นักขุดบิตคอยน์มีบทบาทสำคัญในเครือข่ายบิตคอยน์ เป็นเรื่องง่ายที่จะคิดว่านักขุดนี้เป็นผู้ดูแลระบบ มีอิทธิพลเหนือเครือข่ายและสามารถเปลี่ยนแปลงกฎของบิตคอยน์ได้ ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ นักขุดสามารถเปลี่ยนแปลงกฎของบิตคอยน์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นถ้าคนอื่นในเครือข่ายไม่เห็นด้วย

แต่ถึงแบบนั้นในเครือข่ายบิตคอยน์ก็ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตย เสียงของนักขุดก็นับเป็น 1 ในเสียงสำหรับการโหวต ถ้าผู้ใช้งานและนักขุดเห็นตรงกันมากพอก็สามารถเปลี่ยนแปลงกฎของบิตคอยน์ร่วมกันได้

Reference : River.com