หน้าที่ของนักขุดบิตคอยน์

การขุดบิตคอยน์คือหนึ่งในสองปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาความปลอดภัยของบล็อกเชนบิตคอยน์ อธิบายแบบคร่าวๆได้ว่าการขุดบิตคอยน์คือกระบวนการที่สร้างบล็อกเชนขึ้นมา ด้วยการสร้างบล็อกของข้อมูลใหม่ขึ้นมาแล้วผสานเข้ากับบล็อกก่อนหน้า อีกปัจจัยสำคัญในการรักษาความปลอดภัยคือโหนด ที่คอยติดตามประวัติการทำธุรกรรมในอดีตทั้งหมด และคอยตรวจสอบธุรกรรมใหม่

เนื่องจากนักขุดมีหน้าที่ยืนยันธุรกรรม จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่านักขุดคือผู้ที่สามารถตัดสินใจได้ว่าธุรกรรมใดที่จะได้รับการยืนยัน และทำหน้าที่เป็นคนกลางเสียเอง แต่ในทางปฏิบัติ เป็นเรื่องยากมากที่นักขุดจะสามารถสร้างและเปลี่ยนกฎใดๆ หรือการกีดกันธุรกรรมไม่ให้ได้รับการยืนยัน

เพราะมีนักขุดที่เต็มใจที่จะขุดบิตคอยน์ตามกฎของเครือข่ายอยู่เสมอ และมีนักขุดเต็มใจที่จะประมวลผลธุรกรรมที่มีคนไม่อยากให้ทำ ด้วยเหตุผลนี้ บทบาทที่แท้จริงของนักขุดจึงไม่ใช่การตัดสินใจว่าธุรกรรมใดที่จะได้รับการยืนยัน แต่เป็นหน้าที่ในการกำหนดลำดับของธุรกรรมที่จะได้รับการยืนยัน

.

โหนดขุดบิตคอยน์ (Miner Nodes)

เครือข่ายบิตคอยน์ประกอบไปด้วยโหนดที่ดำเนินการโดยบุคคลทั่วไป องค์กร นักขุด และ developer โหนดทั้งหมดใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำให้โหนดสามารถเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้นโหนดทั้งหมดจะมีข้อมูลชุดเดียวกัน หากมีโหนดไหนใช้ซอฟต์แวร์และมีข้อมูลคนละชุดกับโหนดอื่นๆ

โหนดอื่นๆในเครือข่ายจะพิจารณาว่าโหนดตัวนี้ไม่ถูกต้อง ทำให้โหนดที่มีข้อมูลแตกต่างจากคนอื่นไม่สามารถเข้าร่วมเครือข่ายได้ หรือหากเกิดเหตุการณ์นี้ในสเกลใหญ่ขึ้น เครือข่ายก็อาจจะแยกออกจากกัน

นักขุดคือผู้ที่ดำเนินการโหนดที่สำคัญในเครือข่ายบิตคอยน์ โหนดของนักขุดเป็นโหนดแรกที่ทำการประกาศบล็อกใหม่ไปยังเครือข่าย เพื่อให้ได้รับการตรวจสอบและเพิ่มลงในบันทึกสำเนาของบล็อกเชน หากไม่มีนักขุดในเครือข่ายเลย จะไม่มีการเพิ่มธุรกรรมลงในบล็อกเชนอีกต่อไป

.

นักขุดสามารถเปลี่ยนกฎของบิตคอยน์ได้หรือไม่

นักขุดไม่สามารถเปลี่ยนกฎของบิตคอยน์ได้ หากนักขุดคนไหนพยายามเปลี่ยนกฎภายในซอฟต์แวร์บนโหนดของตน อย่างเช่นปรับกฎให้ได้รับ Block Reward เพิ่มขึ้นจากการขุด การทำแบบนี้จะทำให้โหนดตัวนี้เข้าไม่ได้กับโหนดอื่นๆ ซึ่งมีอยู่สองปัจจัยที่ทำให้นักขุดสามารถเปลี่ยนแปลงกฎได้

1.การปรับค่าความยาก (Difficulty)

หากนักขุดต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงกฎบนโหนดของตัวเอง ผลที่ได้จะเป็นการสร้างทางแยกในเครือข่าย (Fork) ซึ่งเครือข่ายหลักอาจจะดำเนินการได้ช้าลงชั่วคราว เนื่องจากจะมีนักขุดผู้ที่มีหน้าที่ยืนยันธุรกรรมน้อยลงในเครือข่าย

เมื่อจำนวนแรงขุดในเครือข่ายเปลี่ยนไป ค่า Difficulty หรือการปรับความยากจะเข้ามามีบทบาทตรงนี้ การปรับความยากเกิดขึ้นทุกๆ 2,016 บล็อกหรือประมาณทุกๆ 14 วัน อัลกอริทึมของบิตคอยน์จะปรับความยากในการสร้างบล็อกใหม่ลงในบล็อกเชน

เช่นตอนที่กำลังขุดในเครือข่ายลดน้อยลง อัลกอริทึมก็จะปรับค่าความยากลงมา ให้นักขุดสามารถสร้างบล็อกได้ในเวลาประมาณ 10 นาที เช่นเดียวกับกรณีที่กำลังขุดในเครือข่ายเพิ่มขึ้น อัลกอริทึมก็จะปรับความยากขึ้นให้เหมาะสมกับกำลังที่มี

2.ความสำเร็จของนักขุดขึ้นอยู่กับความสำเร็จของบิตคอยน์

หากนักขุดพยายามที่จะควบคุมหรือโกงเครือข่ายบิตคอยน์ มันจะเป็นการทำลายความเชื่อมั่นที่ผู้คนมีต่อบิตคอยน์ บิตคอยน์ก็จะกลายเป็นสกุลเงินที่ไร้ค่าในที่สุด ซึ่งนักขุดเองก็เป็นผู้ที่ลงทุนลงแรง ในการซื้อเครื่องขุด ติดตั้งเครื่องขุด และส่วนใหญ่ก็มักจะมีการลงทุนในบิตคอยน์ด้วย การบ่อนทำลายบิตคอยน์โดยผู้ที่ลงทุนในบิตคอยน์จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล

ในการจะทำลายบิตคอยน์ ด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎหรือโกงระบบต้องใช้กำลังประมวลผลมหาศาล มากกว่า 51% ของเครือข่าย ซึ่งการที่จะมีกำลังประมวลผลได้ครึ่งหนึ่งของนักขุดทั่วโลก คงต้องลงทุนมากกว่ามูลค่าของตัวบิตคอยน์เองเสียอีก

Reference : River.com