คำว่า Tokenomics เป็นการรวมคำระหว่าง Token และ Economics ซึ่ง Tokenomics เป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาพื้นฐานของโปรเจกต์คริปโทเคอร์เรนซี นอกเหนือจากการอ่าน white paper, road map และดูทีมพัฒนา Tokenomics ยังเป็นจุดสำคัญในการประเมินโอกาสในอนาคตของคริปโทเคอร์เรนซี ทีมพัฒนาคริปโทเคอร์เรนซีควรออกแบบ Tokenomics อย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าจะพัฒนาไปได้ในระยะยาว

 

ภาพรวมของ Tokenomics

ทัมพัฒนาส่วนใหญ่ออกแบบ Tokenomics มาเพื่อสนับสนุนหรือป้องกันการกระทำต่างๆของผู้ใช้คริปโทเคอร์เรนซี สิ่งนี้คล้ายกับวิธีที่ธนาคารกลางพิมพ์เงินหรือใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเพิ่มหรือลดการใช้จ่าย การกู้ยืม และการออมเงิน ซึ่ง Tokenomics ต่างกันตรงที่มันสั่งงานผ่านโค้ดและมีความโปร่งใส คาดเดาได้ และยากต่อการเปลี่ยนแปลง

ยกตัวอย่างเช่นบิตคอยน์ ปริมาณเหรียญทั้งหมดของบิตคอยน์ได้ตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้าที่ 21 ล้านเหรียญ วิธ๊การสร้างบิตคอยน์ออกมาคือการขุด นักขุดจะได้รับบิตคอยน์เป็นรางวัลเมื่อขุดสำเร็จทุกๆ 10 นาที

รางวัลที่ได้จากการขุดหรือที่เรียกว่า block subsidy จะลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 210,000 บล็อก ตามกำหนดการนี้การลดลงครึ่งหนึ่ง (Halving) จะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2009 เมื่อบิตคอยน์บล็อกแรกถือกำเนิดขึ้นมา รางวัลบิตคอยน์ได้เกิดการ Halving มาแล้ว 3 ครั้งจาก 50 BTC เป็น 25 BTC 12.5 BTC และ 6.25 BTC ในปัจจุบัน

ตามกำหนดการนี้ เราสามารถคำนวณได้ว่าในแต่ละปีจะมีบิตคอยน์ถูกขุดออกมาจำนวนเท่าไร ด้วยการนำจำนวนนาทีใน 1 ปี มาหารด้วย 10 (เพราะบิตคอยน์ 1 บล็อกถูกกขุดทุกๆ 10 นาที) แล้วคูณด้วย 6.25 (เพราะแต่ละบล็อกจะให้รางวัล 6.25 BTC) ซึ่งสามารถคำนวณต่อไปได้ว่าบิตคอยน์จะถูกขุดจนหมดในปี ค.ศ. 2140

Tokenomics ของบิตคอยน์ยังรวมถึงการออกแบบค่าธรรมเนียมในการธุรกรรม ซึ่งจะถูกนำไปให้นักขุดเมื่อขุดบล็อกสำเร็จ ค่าธรรมเนียมได้รับการออกแบบให้เพิ่มตามขนาดและปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยในการป้องกันการสแปมธุรกรรมและจูงใจให้นักขุดให้ทำการขุดต่อไป แม้ว่าเงินรางวัลบล็อกจะลดลงก็ตาม

สรุปแล้ว Tokenomics ของบิตคอยน์นั้นเรียบง่ายแต่ถูกออกแบบมาอย่างซับซ้อนในเวลาเดียวกัน ทุกอย่างโปร่งใสและคาดเดาได้ บิตคอยน์มีสิ่งจูงใจต่างๆที่ทำให้มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

 

องค์ประกอบสำคัญของ Tokenomics

Tokenomics คือโครงสร้างทงเศรษฐกิจของคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งครอบคลุมถึงปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซี

อุปทานของเหรียญ

อุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสินค้าและบริการ เช่นเดียวกับคริปโทเคอร์เรนซี มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ใช้ในการดูอุปทานของเหรียญ อย่างแรกคืออุปทานสูงสุด หมายถึงจำนวนเหรียญทั้งหมดของคริปโทเคอร์เรนซีใดๆจะถูกสร้างขึ้นมา เช่นบิตคอยน์มีอุปทานสูงสุด 21 ล้านเหรียญ Litecoin มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 84 ล้านเหรียญ และ BNB มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 200 ล้านเหรียญ แต่บางคริปโทเคอร์เรนซีอาจไม่มีอุปทานสูงสุด เช่น Ethereum ที่มีอุปทานเพิ่มขึ้นทุกปี Dogecoin ที่มีอุปทานไม่จำกัด

ปัจจัยข้อที่สองคืออุปทานหมุนเวียน หมายถึงจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนอยู๋ในตลาด คริปโทเคอร์เรนซีสามารถถูกสร้างและถูกทำลาย หรือถูกล็อคไว้ ซึ่งมีผลกระทบต่อราคาของคริปโทเคอร์เรนซีเช่นกัน

การใช้งานเหรียญ

หมายถึงการนำเหรียญไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆนอกเหนือจากการเก็งกำไร เช่น เหรียญ BNB ที่สามารถใช้เป็นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน Binance และสามารถรับส่วนลดค่าธรรมเนียมการเทรด

การจัดสรรเหรียญ

นอกเหนือจากอุปสงค์และอุปทานของเหรียญแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือต้องดูว่าเหรียญมีการจัดสรรอย่างไร สถาบันทางการเงินใหญ่ๆกับนักลงทุนรายย่อยมีพฤติกรรมแตกต่างกัน การรู้ว่านักลงทุนประเภทใดที่ถือเหรียญบ้าง จะทำให้เราพอเข้าใจว่าพวกเขา (สถาบัน/ผู้คน) มีแนวโน้มที่จะเทรดอย่างไร ซึ่งส่งผลต่อราคาของเหรียญ

โดยปกติแล้วคริปโทเคอร์เรนซีมีวิธีการเปิดตัวและกระจายเหรียญอยู่ 2 แบบ คือการเปิดตัวเหรียญอย่างยุติธรรมและเปิดตัวก่อนการขุด การเปิดตัวอย่างยุติธรรมคือไม่มีใครเข้าถึงเหรียญได้ก่อนกำหนดและไม่มีการแจกเหรียญให้ใครก่อนที่เหรียญจะเปิดตัวและสร้างขึ้นมาอย่างเป็นทางการ เช่น เหรียญ BTC และ DOGE

ในทางกลับกัน การเปิดตัวก่อนการขุดจะทำให้สามารถสร้างเหรียญและจัดสรรให้กับคนที่ถูกเลือกไว้ก่อนที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะ เช่น Ethereum และ BNB

ซึึ่งเราควรให้ความสนใจกับวิธีการแจกจ่ายเหรียญ คริปโทเคอร์เรนซีจะมีวคามเสี่ยงสูงหากมีองค์กรขนาดใหญ่แค่ 2-3 แห่งถือเหรียญส่วนใหญ่ไว้ในมือ และถ้าหากทีมพัฒนาเสกเหรียญให้ตัวเองเยอะๆก็ไม่ใช่เรื่องดี เพราะพวกเขาอาจจะสร้างคริปโทเคอร์เรนซีมาเพื่อหลอกเอาเงินเฉยๆ

การเผา (ทำลาย) เหรียญ

คริปโทเคอร์เรนซีหลายตัวที่ทำการเผาเหรียญเป็นประจำ ซึ่งไม่ใช่การเผาจริงๆแต่เป็นการนำเหรียญจำนวนหนึ่งออกจากระบบอย่างถาวร

ตัวอย่างเช่น BNB ใช้การเผาเหรียญเพื่อนำเหรียญออกจากระบบเพื่อลดปริมาณเหรียญทั้งหมด จากเดิมที่อุปทานเหรียญ BNB อยู่ที่ประมาณ 165 ล้านเหรียญ ซึ่ง BNB ตั้งใจจะเผาเหรียญให้เหลือเพียงแค่ 100 ล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งการเผาเหรียญเป็นการลดอุปทานของเหรียญ และในทางเศรษฐศาสตร์การลดอุปทานโดยที่อุปสงค์ยังคงที่หรือเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาเหรียญสูงขึ้น (ถ้าตัดปัจจัยอื่นๆออกไป)

การสร้างแรงจูงใจ

วิธีการสร้างแรงจูงใจของคริปโทเคอร์เรนซีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการทำให้มีผู้คนมาเข้าร่วมเพิมมากขึ้นอย่างยั่งยืน เช่นบิตคอยน์ออกแบบ block reward มาเพื่อสร้างจูงใจให้กับเหล่านักขุด

คริปโทเคอร์เรนซีแบบ Proof-of-Stake สร้างแรงจูงใจให้ผู้คนซื้อเหรียญแล้วนำมา stake ด้วยการมอบเงินตอบแทน ยิ่งมีสัดส่วนเหรียญเยอะมากเท่าไรผลตอบแทนที่ได้ก็มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกลไกที่ตามมาก็คือ ยิ่งคนไหนถือเหรียญจำนวนมาก การกระทำใดที่จะส่งผลเสียต่อคริปโทเคอร์เรนซีก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่าตัวเองถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ถ้าราคาตก เหรียญทั้งหมดที่ซือไว้ก็จะราคาตกไปด้วย ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัย

Reference : Binance Academy