อัตราเงินเฟ้อคืออะไร

อัตราเงินเฟ้อคือภาวะที่เงินจำนวนเท่าเดิมแต่กำลังซื้อน้อยลง ตัวชี้วัดที่นิยมใช้ในการวัดอัตราเงินเฟ้อคือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

อัตราเงินเฟ้อหมายถึงราคาของสินค้าและบริการที่สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อของเงินนั้นลดลง ทำให้ต้องใช้จำนวนเงินเพิ่มขึ้นในการซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิม เช่นข้าวผัดกะเพราเมื่อ 5 ปีที่แล้วอาจจะราคา 35 บาท แต่ในปัจจุบันราคา 50 บาท ซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังซื้อเรากำลังลดลง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เป็นตัวชี้วัดยอดนิยมที่ใช้ในการวัดอัตราเงินเฟ้อ โดยจะวัดจากราคากลุ่มสินค้ากลุ่มหนึ่ง มาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกัน รัฐจะนำตัวชี้วัด CPI มาตัดสินใจเรื่องต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่าแรงขั้นต่ำ นโยบายทางการค้าต่างๆ

 

เงินเฟ้อเกิดจากอะไร

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น แต่มูลค่ากลับลดลง หนึ่งในสาเหตุนั้นคือ quantitative easing (QE)

Quantitative Easing หรือที่เรียกว่าการพิมพ์เงินคืออะไร?

อธิบายแบบง่ายๆ Quantitative Easing (QE) คือศัพท์ที่ใช้เรียกการสร้างเงินเพิ่มของธนาคารกลาง จริงๆแล้วมันไม่ใช่การ “พิมพ์เงิน” ออกมาจริงๆ แต่ธนาคารกลางสร้างเงินดอลลาร์ลงในบัญชีแบบดิจิทัล (สร้างออกมาจากอากาศเลย) และใช้เงินดอลลาร์เหล่านี้เพื่อซื้อสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง หลักทรัพย์ค้ำประกัน

หลังจากพบเจอกับวิกฤตการณ์ทางการเงิน ธนาคารกลางได้เพิ่มเงิน 3.6 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วย QE ผลกระทบที่ตามมาคือเงินที่เพิ่มเข้าไปในระบบเศรษฐกิจนั้น ได้ถูกเพิ่มเข้าไปที่ระบบธนาคารในรูปแบบของ “เงินสำรองของธนาคาร” และเงินสำรองในธนาคารเหล่านี้ก็ได้ถูกนำไปปล่อยกู้หรือซื้อสินทรัพย์อื่นๆ เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อที่อยู่อาศัย เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเงินจากอากาศพวกนี้ ได้ถูกนำไปใช้ในการซื้อสินค้าในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นและมูลค่าของเงินลดลง

กล่าวคือ การเพิ่มเงินเข้ามาในระบบ ทำให้มูลค่าของเงินลดลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อจำนวนเงินในระบบเพิ่มขึ้น ความต้องซื้อสินค้าจึงเพิ่มขึ้น แต่จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นมานั้นเพิ่มขึ้นมาลอยๆไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเพราะเศรษฐกิจที่พัฒนา การผลิตในประเทศยังเท่าเดิม สินค้าต่างๆจึงมีการขาดแคลน ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้เงินเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง หรือที่เราเรียกกันว่าเงินเฟ้อ (Inflation)

 

วิธีป้องกันเงินเฟ้อ

ระบบการเงินปัจจุบันที่มีการผลิตเงินเพิ่มเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนหรือแม้แต่คนทั่วไปต่างก็พยายามที่จะหาเครื่องมือที่จะป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อนี้ เช่น การนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น และ คริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อได้

สินทรัพย์ที่ดีควรจะรักษามูลค่าไว้ได้ หรือมูลค่าควรเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่อย่างน้อยมูลค่าไม่ควรลดลง อย่างเงินสดมูลค่าจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปเพราะเงินเฟ้อ แต่จริงๆแล้วสินทรัพย์บางชนิดก็มีข้อจำกัดในการป้องกันเงินเฟ้ออยู่

อหังสาริมทรัพย์มีสภาพคล่องต่ำและต้นทุนการซื้อขายที่สูง รวมถึงต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหุ้น ผู้ลงทุนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนจึงจะสามารถลงทุนให้ประสบผลสำเร็จได้

 

Bitcoin กับการป้องกันเงินเฟ้อ

Bitcoin เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากจำนวนเหรียญที่จำกัด และการกระจายศูนย์

ปริมาณจำกัด

Supply ของ Bitcoin ถูกจำกัดโดยระบบไว้ที่ 21 ล้านเหรียญ ตอนนี้ถูกขุดออกมาแล้วประมาณ 19 ล้านเหรียญ หมายความว่าจำนวน Bitcoin กว่า 80% ถูกขุดออกมาในช่วง 12 ปีนี้แล้ว

อย่างที่บอกไปว่าสาเหตุหนึ่งของเงินเฟ้อเกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน แต่บิตคอยน์มีจำนวนที่จำกัดไว้แล้ว และไม่สามารถแก้ไขตัวเลขนี้ได้ จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้น

รวมถึงการ halving ของบิตคอยน์ที่จะทำให้การขุดพบเหรียญบิตคอยน์ลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 4 ปี ซึ่งในปัจจุบันอัตราการขุดพบบิตคอยน์อยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของทองคำเพียงเท่านั้น และมันจะลดลงเรื่อยๆ หรือเรียกว่าได้ว่ามันหายากกว่าโลหะต่างๆในโลก และสิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้ Bitcoin มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

การกระจายอำนาจ

Bitcoin มีโครงสร้างแบบกระจายศูนย์ ที่ปราศจากการควบคุมจากศูนย์กลาง มีโหนดนับหมื่นที่กระจายกันอยู่ทั่วโลก เครือข่ายของ Bitcoin สามารถต้านทานการถูกโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงป้องกันการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างสมบูรณ์ ไม่มีองค์กรหรือผู้มีอำนาจคนใดที่จะมาเปลี่ยนแปลงกลไกของ Bitcoin ได้ ทำให้ผู้คนที่ใช้ Bitcoin จะมั่นใจได้ว่าเงินของเขาจะไม่หายไป โดยเรื่องการกระจายอำนาจนี้ คริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆยังไม่สามารถทำได้เท่า Bitcoin

 

Bitcoin สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่

ตั้งแต่ที่บิตคอยน์ถือกำเนิดขึ้นมา มูลค่าของบิตคอยน์เพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

นักลงทุนมองว่า Bitcoin เป็นเครื่องในการเอาชนะเงินเฟ้อ แม้ว่านักลงทุนแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน บางคนอาจจะต้องการเก็งกำไร หารายได้เสริม หรือใช้เป็นแหล่งเก็บมูลค่า

ในวันนี้ราคาของ Bitcoin เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ มูลค่าของมันก็สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้สำเร็จ ถึงแม้ช่วงนี้จะเป็นขาลงของ Bitcoin แต่การเติบโตของมันก็ยังดีกว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศส่วนใหญ่

จากสถิติ Bitcoin ทำงานได้ดีในการเป็นเครื่องมือสำหรับป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ดีกว่าสินทรัพย์เช่น ทองคำ อหังสาริมทรัพย์ และหุ้น