ภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจเติบโตช้า การว่างงานสูง 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิด Stagflation ขึ้น

   ซึ่งปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาการว่างงานนั้นมีวิธีแก้ปัญหาต่างกัน และเมื่อเลือกแก้อันไหน อีกปัญหาหนึ่งอาจจะแย่ลง ซึ่งทำให้ stagflation เป็นปัญหาที่แก้ยากของรัฐบาล

   ภาวะเงินเฟ้ออ่อนๆเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจเพราะแสดงถึงเศรษฐกิจที่มีการเติบโต แต่เมื่อเศรษฐกิจเติบโตช้า ซึ่งวัดได้ด้วย GDP ของประเทศ เมื่อ GDP ของประเทศต่ำและเงินเฟ้อมากขึ้น stagflation อาจนำไปสู่วิกฤตทางการการเงินได้

เงินเฟ้อ – inflation

   เงินเฟ้อ คือภาวะทางเศรษฐกิจที่ข้าวของแพงขึ้น หรือมองอีกมุมคือเงินที่เรามีมูลค่าลดลงจากเมื่อก่อน เมื่อก่อนเงิน 100 อาจซื้อข้าวได้ 4 จาน แต่พอเกิดเงินเฟ้อ เงิน 100 บาทจะซื้อข้าวได้แค่ 2 จาน

   เงินเฟ้อเกิดจากการที่ปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้นและคนมีความต้องการซื้อมากขึ้น แต่สินค้าและบริการยังมีเท่าเดิม สินค้าเลยหายากและมีราคาแพงขึ้น เงินเฟ้อในปัจจุบันวัดด้วยการนำราคาในกลุ่มสินค้าของปีก่อนหน้ามาเปรียบเทียบกับราคาของกลุ่มสินค้าในปีถัดไป ดูว่าเปลี่ยนไปเท่าใดก็จะเป็นอัตราเงินเฟ้อในปีนั้นๆ

Stagflation เกิดขึ้นได้อย่างไร

   สาเหตุที่แท้จริงมีหลากหลายแล้วแต่มุมมองทางประวัติศาสตร์และมุมมองทางเศรษฐกิจ มีหลายทฤษฎีและหลายความคิดเห็นที่อธิบาย stagflation แตกต่างกันไป ซึ่งหลักๆก็มีแบบ เคนเซียน(Keynesian) และ new classic

1.การประทะกันของนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง

   ธนาคารกลางอย่างเช่น FED ควบคุมระบบเศรษฐกิจด้วยการควบคุมปริมาณของเงิน การควบคุมแบบนี้เรียกว่านโยบายการเงิน และการควบคุมเศรษฐกิจอีกทางของรัฐบาลคือการใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษีหรือเรียกว่า นโยบายการคลัง การใช้นโยบายทั้งสองอย่างพร้อมกันอาจส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อและเศรษฐกิจเติบโตช้า โดยนโยบายใดๆที่ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงและเพิ่มอุปทานของเงินมากขึ้นจะส่งผลให้เกิด stagflation

   ยกตัวอย่าง รัฐบาลจะเพิ่มอัตราภาษีเพื่อลดรายได้ของประชาชนให้เหลือน้อยลงเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ แต่ขณะเดียวกันธนาคารกลางทำการ QE (พิมพ์เงินเข้าในระบบมากขึ้น) จากนโยบายข้างต้นรัฐบาลพยายามจะลดการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ธนาคารกลางพยายามเพิ่มปริมาณของเงินในระบบซึ่งก่อให้เกิดเงินเฟ้อ และเกิดเป็น Stagflation

2. การมาของ Fiat Currency

   เมื่อหลายสิบปีมาแล้วการจะสร้างเงินขึ้นมาต้องนำทองคำที่มีมูลค่าเท่ากันมาค้ำไว้ หรือที่เรียกกันว่า gold standard แต่สหรัฐได้ยกเลิกระบบนี้ไปหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแทนที่ด้วย fiat currency แทน ซึ่งไม่ต้องมีทองคำมาค้ำ สามารถพิมพ์มาใช้ทำใดก็ได้ ความมั่นคงของเงินขึ้นอยู่กับความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่ง fiat currency ทำให้ธนาคารกลางควบคุมเศรษฐกิจได้ และระบบนี้ก็เสี่ยงต่อการเกิดเงินเฟ้อ

3. ต้นทุนสินค้าแพงขึ้น

   ดยเฉพาะต้นทุนพลังงานอย่างเช่นน้ำมัน ทำให้ผู้ผลิตสินค้ามีต้นทุนสูงขึ้นและราคาสินค้าก็ขึ้นตาม ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายได้น้อยลง stagflation ก็จะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น วิกฤตการณ์น้ำมัน เมื่อปี 1973 ที่กลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ขุดและส่งออกน้ำมัน หยุดส่งน้ำมันให้หลายประเทศอย่างเช่น อเมริกาและอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงกว่า 4 เท่า และเมื่อน้ำมันที่เป็นต้นทุนในการส่งสินค้าทั้งหมด ทั้งทางรถ เรือ เครื่องบิน ราคาขึ้นสูง พวกสินค้าอุปโภค บริโภค และวัตถุดิบในการผลิต ราคาก็ขึ้นเช่นกัน

วิธีแก้ปัญหา stagflation

   วิธีที่ 1 ต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ซึ่งต้องลดปริมาณของเงินในระบบเป็นอย่างแรก ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายของประชาชนลดลงและความต้องการซื้อลดลงด้วย แล้วเมื่อคนต้องการซื้อสินค้าและบริการน้อยลง ราคาของสินค้าและบริการก็จะลดลง แต่วิธีนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจเติบโตช้า ซึ่งปัญหานี้ต้องแก้ทีหลัง หลังจากแก้ปัญหาเงินเฟ้อแล้วด้วยการลดนโยบายการเงินกับนโยบายการคลัง

   วิธีที่ 2 ลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ควบคุมราคาพลังงาน ให้เงินสนับสนุนผู้ผลิต จะเป็นการลดต้นทุนของสินค้าและเพิ่มปริมาณสินค้าในตลาด เมื่อปริมาณสินค้าในตลาดเพิ่มขึ้นราคาสินค้าก็จะลดลงตามกลไกตลาด และการสนับสนุนผู้ผลิตจากรัฐบาลยังช่วยลดอัตราการว่างงานอีกด้วย

การเข้ามาแก้ปัญหา Stagflation ของ Bitcoin

   Bitcoin ที่ต้องการเป็นตัวแทนของการป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่ง Bitcoin มีจำนวนจำกัดที่ 21 ล้านเหรียญ และไม่สามารถพิมพ์ออกมาเพิ่มได้เหมือนเงิน Fiat Currency ถึงแม้ในช่วงนี้ที่เป็นช่วงเริ่มเติบโตของ Bitcoin จะมีความผันผวนสูง ราคาร่วงหรือขึ้นทีละ 10-20 % แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อมั่นใน Bitcoin และเก็บเงินไว้ใน Bitcoin ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ อย่างเช่นประเทศเอลซัลวาดอร์ที่ประกาศให้ใช้จ่ายด้วยบิตคอยน์ได้แบบถูกกฎหมาย ภาคเอกชนอย่างบริษัท Microstrategy ที่เก็บไว้ถึง 129,218 Bitcoin เพราะมองว่าถ้าเทียบกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกปี (เดือนเมษายน 2022 เงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ที่ 8.3%) การเก็บเก็บบิตคอยน์ไว้จะทำให้ชนะเงินเฟ้อได้

Stagflation ส่งผลอย่างไรกับ Cryptocurrency

   ตอนต้นปี 2022 ทางธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ซึ่งปรับมากสุดในรอบ 22 ปี ออกมาเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งส่งผลให้ราคาคริปโทเคอร์เรนซีร่วงลงด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนี้?

1.นักลงทุนประเภทใช้เงินร้อน เงินที่กู้มาลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีมีดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีที่มีความเสี่ยงสูง อาจไม่คุ้มต่อการกู้มาลงทุนอีกต่อไป

2.เงิน USD แข็งค่าขึ้นจากการลดปริมาณเงินในระบบของ FED ซึ่งพยายามลดเงินในระบบถึง 3.2 ล้านล้านบาท การนำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับ USD อย่างเช่นพันธบัตรรัฐบาลจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงที่ USD แข็งค่า

Referrence

https://academy.binance.com/en/articles/what-is-stagflation

https://www.youtube.com/watch?v=seiXBecYcvc

https://www.statista.com/statistics/273418/unadjusted-monthly-inflation-rate-in-the-us/

https://www.youtube.com/watch?v=4SYamX8X-Ec