นักต้มตุ๋น หรือ scammer มีมานานตั้งแต่สมัยที่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นสังคมและ scammer ก็จะหาวิธีใหม่ๆมาหลอกผู้คนอยู่เสมอ โดยจะฉวยโอกาสจากความสนใจและความไม่รู้ของผู้คน การเติบโตของเทคโนโลยีทำให้ผู้คนสนใจและด้วยความที่ความรู้ยังไม่มากพอ scammer จึงฉวยโอกาสจากตรงนี้ และคริปโทเคอร์เรนซีก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่พวก scammer นำมาหลอกลวงผู้คน และนี่คือ 8 รูปแบบกลลวงที่พวก scammer นิยมใช้

1.ของแจกฟรี

   scammer จะเสนอเหรียญฟรีหรือของรางวัลให้กับเหยื่อแต่เหยื่อต้องส่งเงินให้ก่อน อย่างเช่น scammer บอกว่าจะส่ง BTC ให้เรา 1 BTC แต่บอกว่าเราต้องส่ง BTC ไปให้ก่อน 0.1 BTC พอเราโอนไป เราจะไม่ได้ 1 BTC นั้น และไม่ได้เหรียญคืนแต่อย่างใด ส่วนใหญ่การหลอกลวงประเภทนี้จะพบได้ที่โซเชี่ยลมีเดียอย่างเช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ซึ่งพวก scammer จะไปตอบกลับข้อความทวีตที่เป็นกระแสหรือทวีตที่มีคนสนใจจำนวนมาก อาจจะเป็นทวีตเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีหรือทวีตของคนดังทางด้านนี้ อย่างเช่นทวีตของอีลอน มัสก์เป็นต้น

   วิธีหลีกเลี่ยงการหลอกลวงประเภทนี้คือเราต้องพึงระลึกไม่เสมอว่าของแจกฟรีจริงๆจะไม่ขอเงินเราก่อน โดยเราจะต้องมีสติเวลาเห็นของฟรี ดูว่าเงื่อนไขในการได้คืออะไร ถ้าไม่สมเหตุสมผลเราก็ไม่ควรไปยุ่ง

2.Blackmail

   scammer จะใช้วิธีการขู่ว่าจะนำข้อมูลส่วนตัวของเราที่เราไม่อยากให้คนอื่นรู้ไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ถ้าไม่อยากให้เปิดเผยเราต้องจ่ายเงินหรือสิ่งอื่นทดแทน ซึ่งพวก scammer จะนิยมให้เหยื่อจ่ายเป็นบิตคอยน์เพราะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับได้

   วิธีหลีกเลี่ยง scammer ประเภทนี้คือเราต้องระมัดระวังข้อมูลส่วนตัวของเราเวลาล็อกอินเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ และต้องระมัดระวังเวลาเราส่งข้อมูลส่วนตัวให้คนอื่น การใช้ authentication รูปแบบต่างๆ ก็ช่วยป้องกันพวก scammer เข้าถึงข้อมูลเราได้ดี

3. ปลอม Exchange

   Scammer จะสร้าง exchange ขึ้นมาโดยจะมีหน้าตาเหมือน exchange ของจริง ถ้าเราสับสนแล้วไปใช้งานเราจะสูญเสียเงินและข้อมูลส่วนตัวไปได้ โดย scammer ประเภทนี้จะดึงดูดเหยื่อด้วยการแจกเหรียญฟรี ค่าธรรมเนียมถูก ของขวัญอื่นๆ

   การหลีกเลี่ยง scam ประเภทนี้เราต้องบันทึก URL ของเว็บไซต์จริงเอาไว้ แล้วก็ทำการเช็คเสมอก่อนจะทำการล็อกอินเว็บไซต์ใดๆ

4.มัลแวร์เรียกค่าไถ่

   เป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่จะทำการล็อคโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้จนกว่าเราจะจ่ายค่าไถ่ ซึ่ง scammer จะให้จ่ายเป็น BTC หรือเหรียญอื่นเพราะจะไม่ระบุตัวตนของผู้รับ

   วิธีหลีกเลี่ยง ไม่กด Link ที่ไม่น่าไว้วางใจ ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมที่น่าสงสัย บันทึกข้อมูลไว้หลายๆที่

5 .ปลอมเป็นคนดัง

   Scammer จะสร้าง account ในโซเชี่ยลมีเดียต่างๆอย่างเช่นทวีตเตอร์ อินสตาแกรม โดยสร้างให้เหมือนกับคนดังในโลกคริปโทเคอร์เรนซี หรือคนที่มีความน่าเชื่อถือแล้วทำการติดต่อช่องทางแชทส่วนตัวมาขอความช่วยเหลือ ให้เราส่งเงินของเราให้โดยแลกกับข้อเสนออะไรบางอย่าง

   วิธีการหลีกเลี่ยงการหลอกลวงประเภทนี้เราจะต้องตรวจสอบให้ดีว่าคนที่ทักมาหาเรานั้นเป็นตัวจริงหรือเปล่า (ซึ่งตัวจริงคงไม่ทักมาขอความช่วยเหลือจากเรา) อาจจะให้คนอื่นๆช่วยตรวจสอบหรือตรวจสอบด้วยตัวเองก็ได้

6. มัลแวร์ copy and paste

   เป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนข้อความที่เรากดก็อปปี้ให้เป็นข้อความที่พวก scammer ต้องการได้ สมมติว่า Alice ต้องการส่ง BTC ให้ Bob ซึ่ง Alice จะต้องก็อปปี้ Address ของ Bob มาวางไว้ตอนที่จะส่งอย่างปกติ แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ของ Alice มีมัลแวร์ตัวนี้อยู่ ตอนวาง Address ของ Bob มัลแวร์จะทำการเปลี่ยน address ให้เป็นของพวก scammer แทน ซึ่งเท่ากับว่า Alice จะส่ง BTC ให้พวก scammer โดยตรงเลย

   วิธีหลีกเลี่ยง พยายามไม่กด link แปลกๆ ไม่ติดตั้งซอฟแวร์ที่ไม่รู้จัก เพื่อป้องกันการติดมัลแวร์ชนิดนี้และชนิดอื่นๆโดยไม่รู้ตัว

7.อีเมลหลอก

   scammer จะส่งอีเมลมาหาเราโดยหวังให้เราติดตั้งโปรแกรมหรือกด Link ที่ไม่ปลอดภัย โดยเนื้อหาของอีเมลจะเกี่ยวกับการให้เราเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวของเว็บไซต์ที่เราใช้งานอยู่โดยด่วน ไม่เช่นนั้นจะใช้งานบัญชีในเว็บไซต์ไม่ได้อีกต่อไปหรือถอนเงินจากเว็บไซต์ไม่ได้ ซึ่ง scammer จะขอให้เราเปลี่ยนรหัสผ่าน หรือส่งข้อมูลส่วนตัวไปให้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ Hack บัญชีของเรา

   วิธีหลีกเลี่ยง ตรวจเช็คอีเมลว่ามาจากเว็บไซต์ หรือบริษัทนั้นๆจริงหรือไม่ ถ้าอีเมลมีความน่าสงสัยเราสามารถสอบถามกับทางบริษัทโดยตรงเกี่ยวกับอีเมลที่ได้รับ หรืออีกวิธีคือการดูด้วยสายตาว่าอีเมลที่ส่งมามีการสะกดผิดหรือคำที่แปลกๆหรือไม่ ถ้าเกิดมีก็แสดงว่าอีเมลนั้นอาจส่งมาเพื่อหลอกเรา

8.แชร์ลูกโซ่

   คือการที่ผู้ลงทุนรายเก่าจะได้รับผลตอบแทนจากการที่ผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาลงทุน แต่เมื่อไม่มีนักลงทุนคนใหม่ๆเข้ามากระแสเงินก็จะหยุด แชร์นั้นๆก็จะล้ม ซึ่งกลุ่มคนที่ก่อตั้งก็จะหอบเงินหนีไปโดยไม่รับผิดชอบใดๆต่อนักลงทุนที่มาทีหลัง โดยการหลอกลวงประเภทนี้จะดึงดูดผู้คนด้วยการโชว์ว่าได้รายได้ที่มาก ยิ่งลงทุนมากก็ได้ผลตอบแทนมาก ยกตัวอย่างเช่น OneCoin ที่เป็นแชร์ลูกโซ่บนโลกคริปโทเคอร์เรนซี หรือ GameFi บางเกมก็เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่

   วิธีการหลีกเลี่ยง ศึกษาพื้นฐานของเหรียญว่ามีโปรเจคที่สามารถสร้างมูลค่าได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่เหรียญที่มีมูลค่าด้วยการที่มีคนใหม่ๆเข้ามา

   ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ ยิ่งบนโลกของคริปโทเคอร์เรนซีที่ยากต่อการระบุตัวตนการสูญเสียเงินและข้อมูลส่วนตัวไปนั้น เป็นเรื่องยากที่จะได้คืนมา เราต้องมีสติในการใช้งานและคอยตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้งเวลาใช้งาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินของเรา

Referrence

https://academy.binance.com/en/articles/8-common-bitcoin-scams-and-how-to-avoid-them