ฮาร์ดแวร์วอลเลท (hardware wallet) คืออะไร
ฮาร์ดแวร์วอลเลทคืออุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับเก็บ private key ในการเข้าถึง cryptocurrency โดยเฉพาะ ซึ่ง private key มีไว้สำหรับทำธุรกรรม ถ้าไม่มี private key = ทำธุรกรรมไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมควรเก็บ private key ในฮาร์ดแวร์วอลเลทที่มีความปลอดภัย เพราะคนที่มี private key จะสามารถเข้าถึงทรัพย์สินดิจิทัลทั้งหมดในกระเป๋า
ฮาร์ดแวร์วอลเลทมีอีกชื่อเรียกว่า cold wallet มีหน้าที่เก็บรักษา private key ให้พ้นจากภัยคุกคามจากโลกออนไลน์ เช่น แฮกเกอร์ หรือไวรัส โดยการทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อลงชื่อทำธุรกรรมด้วยฮาร์ดแวร์วอลเลท private key ของเราจะไม่หลุดไปไหน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บรักษา cryptocurrency
วิธีเก็บรักษา cryptocurrency ยังมีอีกวิธีคือการใช้ซอฟต์แวร์วอลเลท (software wallet) ที่เป็นแอพพลิเคชันที่ต้องดาวน์โหลดมาลงเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีข้อดีในการเข้าถึงที่ง่ายกว่า หรือใช้งานกับพวก DeFi ได้สะดวกกว่า แต่มันก็มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากทางออนไลน์
Hardware Wallet ทำงานอย่างไร
ฮาร์ดแวร์วอลเลทจะมีสถานะ offline ตลอดเวลา ซึ่งเวลาใช้งานจำเป็นต้องนำไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ฮาร์ดแวร์วอลเลทถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือโดยที่ private key ไม่รั่วไหล ถึงแม้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์จะติดไวรัสก็ตาม เมื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แล้ว เราสามารถเข้าไปดูยอดเงินและทำธุรกรรมได้
วิธีใช้งาน hardware wallet
1.ขั้นตอนติดตั้ง
ซื้อฮาร์ดแวร์วอลเลทที่เชื่อถือได้
ซื้อฮาร์ดแวร์วอลเลทจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ของปลอม และควรเลือกซื้อฮาร์ดแวร์วอลเลทจากเว็บไซต์ทางการของแบรนด์ รวมถึงควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ได้ปิดผนึกอยู่ตอนที่ได้รับ
เริ่มใช้งานฮาร์ดแวร์วอลเลท
เชื่อมต่อฮาร์ดแวร์วอลเลทกับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งอาจจะต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
สร้าง wallet ใหม่
อุปฮาร์ดแวร์วอลเลทจะให้เราสร้างกระเป๋าเงินดิจิทัล (wallet) ใหม่ ซึ่งจะเป็นการสร้าง private key ใหม่
2.การสำรองข้อมูล
จดบันทึก recovery phase
ระหว่างตั้งค่าฮาร์ดแวร์วอลเลท อุปกรณ์จะแสดงคำกู้คืน (recovery phase) ปกติจะมีความยาว 12-24 คำ ให้เราจดบันทึกคำเหล่านี้แล้วเก็บไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัย และไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คำเหล่านี้มีไว้ใช้กู้คืน wallet หากเราทำอุปกรณ์หาย ถูกขโมย หรือเสียหาย
3.ความปลอดภัย
ตั้งรหัสปลดล็อก
เราสามารถตั้งรหัสปลดล็อกฮาร์ดแวร์วอลเลทเพื่อความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่งได้ และเราต้องใช้รหัสนี้ในการทำธุรกรรมด้วย
4.รับคริปโทเคอร์เรนซี
หา address
ใช้แอพพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ของ wallet เพื่อหา public address ของเรา public address ทำหน้าที่คล้ายๆเลขบัญชี โดยคนที่มี public key ของเรา จะสามารถส่งคริปโทฯ เข้า wallet ของเราได้
5.ส่งคริปโทเคอร์เรนซี
สร้างธุรกรรม
ใช้แอพพลิเคชันของฮาร์ดแวร์วอลเลทเพื่อสร้างธุรกรรมใหม่ ใส่ address และจำนวนเงินที่ต้องการส่งให้ผู้รับ
เซ็นธุรกรรม
ฮาร์ดแวร์วอลเลทจะทำการเซ็นลายเซ็นบนธุรกรรมด้วย private key ของเรา ซึ่งกระบวนการนี้จบในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์วอลเลทในตัว จึงมั่นใจได้ว่า private key จะไม่หลุดไปข้างนอก
ประกาศธุรกรรม
ถ้าเราเซ็นธุรกรรมเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมที่ตั้งเอาไว้จะประกาศธุรกรรมบนเครือข่ายให้กับเรา
ความแตกต่างระหว่าง private key และ recovery phase
Private key
Private key คือชุดของตัวเลขที่ปกติจะอยู่ในเลขฐาน 16 ซึ่งมีความสำคัญที่ทำให้บิตคอยน์หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆทำงานได้ มันคือส่วนสำคัญของระบบการเข้ารหัส โดยใช้สำหรับเซ็นกำกับธุรกรรม ซึ่งจะเป็นการระบุตัวตนของผู้ทำธุรกรรมที่ไม่มีใครสามารถปลอมแปลงได้
Recovery phase
Recovery phase หรืออีกชื่อคือ Seed phase คือกลุ่มคำที่ใช้ในการกู้คืนกระเป๋าเงินคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งกลุ่มคำเหล่านี้คือ private key ในเวอร์ชั่นที่มนุษย์อ่านได้ โดย recovery phase คือกลุ่มคำที่มีไว้กู้คืนกระเป๋าเงินดิจิทัล (wallet) ในกรณีที่อุปกรณ์ของเราสูญหายหรือเสียหาย
เพราะปกติแล้ว private key จะเป็นข้อมูลที่จำได้ค่อนข้างยาก คนจึงนำมาดัดแปลงให้เป็น recovery phase ที่จำได้ง่ายขึ้น
10 วิธีการใช้ hardware wallet ให้ปลอดภัยมากขึ้น
1.ซื้อ hardware wallet จากแหล่งที่เชื่อถือได้
เลือกซื้อฮาร์ดแวร์วอลเลทจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงหรือจากพ่อค้าคนกลางที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ของปลอม
2.อัพเดท Firmware ให้เป็นปัจจุบัน
บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะปล่อยอัพเดท firmware รุ่นใหม่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและฟีเจอร์ใหม่ๆออกมา เราในฐานะผู้ใชช้งานก็ต้องคอยอัพเดท firmware ของอุปกรณ์เราให้ทันสมัย
3.ห้ามแชร์ Recovery Phase
การมี recovery phase มีค่าเท่ากับการมี private key หมายความว่าถ้ามีใครได้มันไปจะสามารถควบคุมกระเป๋าเงินของเราได้ ซึ่งไม่ควรแชร์หรือบอกคนอื่นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
4.เก็บ recovery phase ในที่ปลอดภัยและไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ไม่ควรเก็บ recovery phase ในโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเสี่ยงจะถูกแฮค วิธีที่ง่ายและได้ผลก็คือจดใส่กระดาษแล้วเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย
5.ตั้งรหัส PIN ให้ยากต่อการคาดเดา
ตั้งรหัสในการเข้าอุปกรณ์ให้มีความยากระดับหนึ่ง ไม่ควรตั้งประมาณว่า 0000 หรือ 1234 ที่เดาง่าย
6.เช็ค Address ให้ดีก่อนส่งเงิน
ก่อนจะส่งคริปโทเคอร์เรนซีควรตรวจเช็คให้ดีว่า address ของผู้รับนั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะการก็อปวางนั้นมีความเสี่ยงอยู่ เนื่องจากมีมัลแวร์ที่สามารถเปลี่ยน address ที่เราก็อปมาให้เป็น address อื่น
7.ตรวจเช็คข้อมูลธุรกรรมในอุปกรณ์
ก่อนจะคอนเฟิร์มทำธุรกรรมควรตรวจเช็คข้อมูลในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์วอลเลทด้วย ไม่ใช่แค่ดูในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว เพื่อดูว่าธุรกรรมที่เราจะทำนั้นถูกต้องแล้ว
8.เก็บ hardware wallet ให้ปลอดภัย
เก็บฮาร์ดแวร์วอลเลทให้เหมือนเก็บของมีค่า ไม่ควรพกติดตัวตลอดเวลา และเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเมื่อไม่ได้ใช้งาน
9.ใช้คอมพิวเตอร์ที่ปลอดภัย
พยายามใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพราะอุปกรณ์ของคนอื่นอาจจะมีมัลแวร์ติดตั้งอยู่โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว ถ้าเรานำฮาร์ดแวร์ไปเชื่อมต่ออาจจะติดมัลแวร์และสูญเสียเงินได้
10.เลือกใช้แบรนด์ที่น่าเชื่อถือ
เลือกซื้อฮาร์ดแวร์วอลเลทของแบนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ โดยเราสามารถศึกษาแบรนด์ที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้งานกัน เพราะอย่างน้อยแบนรด์เหล่านี้ก็ผ่านการใช้งานจริงมาหลายปีจึงมีความน่าเชื่อถือขึ้นมา
Reference :