จิตวิทยาตลาดคืออะไร?
จิตวิทยาตลาดคือแนวคิดที่ว่าตลาดนั้นถูกขับเคลื่อนด้วยสถานะอารมณ์ความรู้สึกของผู้คน มันเป็นหนึ่งในหัวข้อของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
หลายคนเชื่อว่าอารมณ์เป็นแรงผลักดันหลักเบื้องหลังการเคลื่อนไหวของตลาดการเงิน และความรู้สึก (sentiment) ของนักลงทุนโดยรวมที่ผันแปรเป็นสิ่งที่สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ จิตวิทยาวัฏจักรตลาด” (psychological market cycles)
กล่าวโดยสรุป ความรู้สึกของตลาด (market sentiment) คือความรู้สึกโดยรวมที่นักลงทุนและนักเทรดมีต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ เมื่อความรู้สึกของตลาดเป็นบวก และราคาของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนมักจะเรียกสถานะนี้ว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น (หรือตลาดกระทิง) ถ้าสถานะตรงกันข้ามจะเรียกว่าแนวโน้มขาลงหรือตลาดหมี ดังนั้นความรู้สึกของตลาดจึงประกอบไปด้วยมุมมองและความรู้สึกส่วนตัวของนักเทรดและนักลงทุนทุกคนภายในตลาด อีกหนึ่งวิธีดูคือการหาค่าเฉลี่ยของความรู้สึกโดยรวมของนักเทรดและนักลงทุนทั้งหมด
แต่ไม่มีความรู้สึกใดที่เป็นใหญ่ที่สุด ตามทฤษฏีจิตวิทยาตลาด ราคาของสินทรัพย์มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อความรู้สึกของตลาดโดยรวม ซึ่งมีการผันแปรตลอดเวลา ในทางปฎิบัติ เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น อาจเป็นผลมาจากทัศนคติและความรู้สึกที่ดีขึ้นของเหล่านักเทรด ความรู้สึกของตลาดเชิงบวกทำให้ Demand เพิ่มขึ้น Supply ลดลง ในอีกมุมหนึ่ง Demand ที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้คนมีความรู้สึกด้านบวกต่อตลาดมากขึ้นไปอีก และกลับกัน แนวโน้มขาลงฏ้จะทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบต่อตลาด และทำให้ Supply เพิ่มมึขึ้้น ราคาสินทรัพย์ต่ำลง
ความรู้สึกของผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในวัฏจักรตลาด
แนวโน้มขาขึ้น
ทุกตลาดต้องพบกับวงจรของการขยายตัวและหดตัว เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขยายตัว (ตลาดขาขึ้น) จะมีสภาวะของการมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อ และความโลภ โดยปกติอารมณ์พวกนี้คือสิ่งที่ทำให้เกิดการซื้อปริมาณมากในตลาด
ซึ่งวัฏจักรของตลาดสามารถส่งผลต่อกันไปเรื่อยๆ เช่น ความรู้สึกจะเป็นบวกมากขึ้นเมื่อราคาสูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้นก็จะทำให้ความรู้สึกเป็นบวกมากขึ้น และดันให้ราคาสูงขึ้นไปอีก
บางครั้งความโลภและความโลภที่สูงจะครอบงำตลาดและก่อให้เกิดฟองสบู่ทางการเงินขึ้นได้ ซึ่งสถานการณ์แบบนี้จะสามารถทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่ใช่เหตุผลในการลงทุน ขาดการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริง และซื้อสินทรัพย์เพียงเพราะเชื่อว่าราคาของสินทรัพย์จะยังเพิ่มขึ้นต่อไป
เมื่อเกิดความโลภเข้าครอบงำ และหวังจะทำกำไรเมื่อราคายังขึ้นต่อไป เมื่อราคาขึ้นสูงไปถึงจุดหนึ่ง ราคาจะเริ่มอยู่ตัว อาจจะเกิด side way ไปช่วงเวลาหนึ่ง เพราะว่าเริ่มเกิดการขายในช่วงนี้ ซึ่งช่วงนี้มีระยะเวลาไม่แน่นอน และจะเกิดขาลงในช่วงเวลาต่อมา
แนวโน้มขาลง
เมื่อตลาดกลับตัวจากขาขึ้นมาเป็นขาลง ความรู้สึกด้านบวกจะเปลี่ยนกลายเป็นความย่ามใจ เพราะว่านักเทรดบางคนจะยังไม่เชื่อว่าแนวโน้มขาขึ้นจบลงแล้ว และขณะที่ราคายังตกลงเรื่อยๆ ความรู้สึกของตลาดก็จะเปลี่ยนเป็นด้านลบอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะมีความรู้สึกวิตกกังวล การไม่ยอมรับ และความตื่นตระหนกร่วมด้วย
ความวิตกกังวลในที่นี้หมายถึงในช่วงเวลาที่นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามว่าทำไมราคาจึงตก ต่อมาจะเกิดความรู้สึกไม่ยอมรับ นักลงทุนหลายคนยังคงถือสิทนทรัพย์ต่อไปแม้จะขาดทุนแล้ว อาจเพราะมีความคิดที่ว่า “ไม่ขายไม่ขาดทุน” หรืออาจจะคิดว่าตลาดจะกลับเป็นขาขึ้นเร็วๆนี้
แต่เมื่อราคาตกลงอีก แรงขายก็จะเพิ่มขึ้น และในที่สุดนักลงทุนก็จะจำนนต่อตลาด เมื่อนักลงทุนขายสินทรัพย์ออกไปในจุดที่ใกล้จุดต่ำสุด แล้วในที่สุดแนวโน้มขาลงจะหยุดลง เมื่อความผันผวนลดลงและตลาดมีเสถียรภาพ ซึ่งปกติแล้วจะเกิดการ sideway ไปเรื่อยๆจนกว่าผู้คนจะมีความหวังอีกครั้ง
นักลงทุนสามารถใช้จิตวิทยาตลาดอย่างไร
สมมติว่าทฤษฎีจิตวิทยาตลาดนั้นถูกต้อง การทำความเข้าใจเรื่องนี้อาจช่วยให้นักเทรดเข้าและออกจากตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสมขึ้นได้ โอกาสที่ดีที่สุดในการเทรดสำหรับการเข้าซื้อ มักเกิดขึ้นเมื่อคนส่วนใหญ่สิ้นหวังและราคาอยู่ในระดับต่ำมาก และตรงกันข้าม ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงสุดมักเกิดขึ้นเมื่อผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกมีความสุขและมั่นใจมากเกินไป
ดังนั้นนักเทรดและนักลงทุนบางคนจึงพยายามอ่านความรู้สึกของตลาด และมองหาว่าความรู้สึกของตลาดอยู่ในระดับไหน ตามหลักการแล้วคนเหล่านี้จะใช้ข้อมูลความรู้สึกของตลาดเพื่อเข้าซื้อในราคาที่ต่ำเมื่อผู้คนเกิดความตื่นตระหนก และขายในราคาที่สูงเมื่อผู้คนเกิดความโลภ แต่ในความเป็นจริงแล้วการหาจุดเหมาะสมที่จะเข้า/ออกจากตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย จุดที่ดูเหมือนจะต่ำสุด (แนวรับ) อาจจะเอาไม่อยู่ และร่วงไปสู่จุดที่ต่ำกว่าได้
การวิเคราะห์ทางเทคนิคและจิตวิทยาตลาด
เป็นเรื่องง่ายที่จะมองย้อนไปในอดีตและดูว่าวัฏจักรของตลาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตทำให้เห็นชัดเจนว่าการกระทำและการตัดสินใจใดที่ทีกำไรได้มากที่สุด
แต่มันยากกว่ามากที่ที่จะคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นักเทรดและนักลงทุนจำนวนมากจึงใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค (technical analysis) เพื่อคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ในด้านหนึ่งเราสามารถบอกได้ว่าอินดิเคเตอร์สำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีไว้ช่วยวัดสถานะทางจิตวิทยาของตลาด ตัวอย่างเช่น อินดิเคเตอร์ Relative Strength Index (RSI) เป็นตัวช่วยในการดูว่ามีการซื้อมากเกินไป (over bought) เนื่องจากความเชื่อมั่นหรือความโลภในตลาดมากเกินไปหรือไม่
Bitcoin และจิตวิทยาตลาด
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2017 ของบิตคอยน์ ช่วงนั้นเป็นตัวอย่างชัดเจนว่าจิตวิทยาตลาดส่งผลอย่างไร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ราคาบิตคอยน์เพิ่มขึ้นจากประมาณ 900 ดอลลาร์ เป็น 20,000 ดอลลาร์ ในช่วงที่ราคาเพิ่มขึ้น ความรู้สึกบวกต่อตลาดมีมากขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนรายใหม่ๆเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น และเกิดการ FOMO ทำให้ราคาพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งแรงซื้อเริ่มหมดลง ตลาดเริ่มกลับตัวเป็นขาลงเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2017 และต้นปี 2018 การกลับตัวนี้ทำให้นักลงทุนที่เข้ามาทีหลังต้องสูญเสียเงินจำนวนมาก แม้ขาลงจะเริ่มขึ้นแล้ว แต่ผู้คนยังมีความเชื่อมั่นและถือสินทรัพย์ไว้อยู่ หลังจากนั้นความรู้สึกของตลาดกลายเป็นลบอย่างหนัก และด้วยความตื่นตระหนกจึงทำให้นักลงทุนหลายคนที่เข้าซื้อบริเวณจุดสูงสุดเริ่มเทขายบริเวณจุดต่ำสุด ส่งผลให้เกิดการขาดทุนครั้งใหญ่
Reference : Binance Academy