การเป็นนักเทรดแบบเต็มตัวอาจจะทำให้เกิดความเครียด กินเวลาชีวิต และผลลัพธ์อาจจะออกมาไม่ดี ถึงอย่างไรก็ตาม ยังมีตัวเลือกอื่นให้เลือกอีก เราอาจจะมองหากลยุทธ์การลงทุนที่ไม่ต้องโฟกัสมาก และกินเวลาน้อย หรือการลงทุนที่เน้นทำเรื่อยๆแต่ได้ผลลัพธ์ หนึ่งในตัวเลือกการลงทุนนั้นคือ DCA หรือ Dollar-Cost Averaging ที่เป็นการลงทุนและลดความเสี่ยงในระยะยาว

 

DCA คืออะไร

DCA คือการถัวเฉลี่ยต้นทุน ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบของความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่เราซื้อ สามารถทำได้ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินเท่ากันในทุกๆรอบเวลา เช่น ทุกๆ 1 หรือ 2 เดือน มีสมมติฐานว่าการ DCA จะทำให้การลงทุนไม่ผันผวนเหมือนการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ๋ๆก้อนเดียว เพราะว่าการเข้าซื้อด้วยความสม่ำเสมอทุกรอบเวลา สามารถทำให้ต้นทุนที่เราซื้อสินทรัพย์ไปมีการเฉลี่ยกัน แล้วทำให้ต้นทุนรวมทั้งหมดจะลดลง ในระยะยาวกลยุทธ์ DCA จะช่วยลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นต่อการลงทุนของเราได้

 

ทำไมต้องทำ DCA

ประโยชน์หลักของการ DCA คือการช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนในจังหวะที่เหมาะสม เพราะจังหวะและเวลาในการลงทุนเป็นสิ่งที่คาดการณ์ค่อนข้างยาก บางครั้งแม้ว่าเราจะวิเคราะห์ทิศทางในการลงทุนถูก แต่ถ้าจังหวะเวลาไม่ดีก็จะทำให้การลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ การ DCA จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องนี้

หากเราแบ่งเงินลงทุนออกเป็นก้อนๆ เรามีแนวโน้มที่จะได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนด้วยเงินเท่ากันแต่เป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว เพราะเรื่องของจังหวะเวลาที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ และ DCA ยังช่วยขจัดอารมณ์ส่วนตัวออกจากการตัดสินใจของเราได้ เมื่อตั้งใจจะทำ DCA แล้ว เราแค่ทำตามกลยุทธ์ของเราไปเรื่อยๆ

ซึ่งแน่นอนว่าการ DCA ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงให้เหลือ 0 กลยุทธ์นี้เป็นการช่วยให้การเข้าซื้อของเราราบรื่นขึ้น และทำให้การเข้าซื้อผิดจังหวะเวลาให้น้อยลงเท่านั้น การ DCA ไม่ได้รับประกันว่าการลงทุนจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เพราะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆด้วย และถึงแม้จะทำ DCA แต่เราก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการออกจากตลาดด้วย

 

กลยุทธ์ในการออกจากตลาดแบบ DCA

ถ้าเรากำหนดราคาเป้าหมายได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือแบ่งเหรียญที่เรามีให้มีมูลค่าเท่าๆกัน แล้วเริ่มขายทีละก้อนเมื่อราคาใกล้ถึงจุดเป้าหมาย ด้วยวิธีนี้ เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะขายไม่ทันเพราะราคาไปไม่ถึงจุดเป้าหมายได้ แต่บางคนก็ใช้กลยุทธ์แบบซื้ออย่างเดียวแต่ไม่ขาย เนื่องจากคาดว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป เพราะในระยะยาว สินทรัพย์ที่ดีจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ทองคำ แต่ต้องจำไว้ว่ากลยุทธ์ถือแต่ไม่ขายอาจจะใช้ไม่ได้กับตลาดคริปโทเคอร์เรนซีเสมอไป เพราะราคาคริปโทเคอร์เรนซีนั้นขยับขึ้นลงแรง การขายออกไปก่อนแล้วเข้าซื้อใหม่อาจจะเป็นผลดีกว่า

 

ตัวอย่างการทำ DCA

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์นี้ สมมติเรามีเงินอยู่ 10,000 บาท เราคิดว่าจะลงทุนในบิตคอยน์ และช่วงนี้เป็นโซนที่ดีที่จะลงทุนแบบ DCA เราสามารถแบ่งเงิน 10,000 บาทออกเป็น 10 ก้อน ก้อนละ 1,000 บาท ในทุกๆเดือนเราจะนำเงิน 1 ก้อนไปซื้อบิตคอยน์ โดยที่ไม่สนว่ามันราคาเท่าใด ด้วยการทำแบบนี้ เราจะกระจายการเข้าซื้อของเราออกไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

เว็ปคำนวณ DCA

เราสามารถใช้เครื่องคำนวณ DCA สำหรับบิตคอยน์ได้ที่ dcabtc.com เราสามารถระบุจำนวน ระยะเวลา ช่วงเวลาในการทำ DCA ได้และจะดำเนินกลยุทธ์ยังไงต่อเมื่อเวลาผ่านไป ถ้า BTC อยู่ในขาขึ้น กลยุทธ์นี้จะทำงานได้อย่างดี

 

กรณีที่ไม่เหมาะกับ DCA

แม้ว่าการ DCA จะเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างใช้ได้ การ DCA แน่นอนว่าใช้งานได้ดีที่สุดเมื่อตลาดมีความผันผวนอย่างหนัก เพราะกลยุทธ์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับความผันผวน แต่มันก็ไม่ใช่กลยุทธ์ที่สมบูรณ์แบบ เพราะมีนักลงทุนที่สูญเสียกำไรจากการ DCA เมื่อตลาดอยู่ในขาขึ้น หากตลาดอยู่ในขาขึ้นระยะยาว สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ที่เข้าซื้อก่อน จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เพราะการ DCA จะค่อยๆเข้าซื้อ ทำให้มีต้นทุนสูงกว่าคนที่เข้าซื้อทีเดียว ซึ่งมันส่งผลต่อกำไรที่อาจจะลดลง

Reference :

Binance Academy