Cryptocurrency Whitepaper คืออะไร
Whitepaper คือเอกสารที่ประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญของโปรเจคบล็อกเชนหรือคริปโทเคอร์เรนซี ที่ผู้สร้างกำลังทำ ซึ่งจะเขียนอธิบายว่าโปรเจคมีการทำงานอย่างไร และโปรเจคต้องการแก้ปัญหาอะไร
โดยปกติแล้ว whitepaper คือรายงานหรือคู่มือที่จะบอกคนอ่านเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น นักพัฒนา software สามารถเขียน whitepaper เกี่ยวกับ software ที่ได้เขาได้สร้างขึ้นมา เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้งานว่า software นั้นๆทำงานอย่างไร และสร้างมาเพื่ออะไร
ในฝั่งคริปโทฯ whitepaper คือเอกสารที่ช่วยสรุปฟีเจอร์และเทคนิคเฉพาะทางหลักๆ ที่ได้นำมาใช้ในคริปโทเคอร์เรนซีหรือบล็อกเชนนั้นๆ ซึ่ง whitepaper ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับ coin หรือ token เพียงอย่างเดียว อาจจะเกี่ยวกับโปรเจคต่างๆ เช่น แพลตฟอร์มระบบการเงินไร้ศูนย์กลาง(DeFi) หรือ เกม play to earn ก็ได้เหมือนกัน
whitepaper อาจแสดงข้อมูลในรูปแบบของสถิติหรือกราฟ โดย whitepaper สามารถอธิบายโครงสร้างของโปรเจค เช่นมีใครเข้าร่วมบ้าง สามารถแสดงแผนการดำเนินงานของโปรเจคในปัจจุบันและอนาคต หรือที่เรียกกันว่า roadmap
แต่ตามจริงแล้ว มันไม่มีวิธีเขียน whitepaper ที่เป็นทางการ ไม่มีใครกำหนดไว้ว่าเขียนยังไง แต่ละโปรเจคเขียน whitepaper เพื่อเผยแพร่สิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ แต่อย่างน้อยๆ whitepaper ควรเป็นกลางและให้ข้อมูลเพื่ออธิบายสิ่งที่กำลังทำและเป้าหมายอย่างชัดเจน เราขอเตือนผู้ใช้งานที่ได้อ่าน whitepaper ว่าควรระวังการเขียนแนวโน้มน้าวใจ ระวังโปรเจคที่ให้สัญญามากเกินไป และให้ข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะโปรเจคนั้นอาจสร้างมาแค่หลอกลวงเรา
whitepaper จะมีข้อมูลแบบไหน
ผู้สร้างโปรเจคเขียน whitepaper ออกมาเพื่อให้ผู้คนเข้าใจเป้าหมายของโปรเจค เช่น whitepaper ของ bitcoin เขียนว่า “เงินอิเล็กทรอนิกส์แบบ Peer to peer จะช่วยให้การชำระเงินออนไลน์ถูกส่งตรงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงิน”
Whitepaper มักให้แนวคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ในโลกแห่งความเป็นจริงจากโปรเจคนั้นๆ เช่น โปรเจคสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาบางอย่างในชีวิตเราได้อย่างไร
แต่อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังพวกคำสัญญาเกินจริงต่างๆ เพราะการเขียน whitepaper ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำให้มันเป็นจริงได้คือเรื่องยาก ยกตัวอย่างเช่น การเสนอขายเหรียญเริ่มต้น (ICO) ที่เฟื่องฟูในปี 2017 ทำให้เกิดโทเค็นนับพันเข้าสู่ตลาด โปรเจคมีแนวคิดล้ำสมัย แต่โปรเจคส่วนใหญ่ล้มเหลวในการทำให้เป็นจริง
นอกจากเป้าหมายและคำสัญญาแล้ว whitepaper ยังสามารถแสดงให้เห็นว่าคริปโทเคอร์เรนซีจะสามารถใช้งานจริงได้อย่างไร และ whitepaper ยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกของกลไกทางเศรษฐศาสตร์ของเหรียญ เช่นการ burn เหรียญ การสร้างแรงจูงใจในการถือเหรียญ
ทำไม whitepaper ถึงมีความสำคัญ
นักลงทุนสามารถอ่าน whitepaper เพื่อศึกษาโปรเจคนั้นๆ สามารถดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และยังช่วยให้นักลงทุนตรวจสอบได้ว่าโปรเจคนั้นดำเนินการไปตามแผนและเป้าหมายเดิมหรือไม่
และ whitepaper เผยแพร่ข้อมูลของโปรเจคออกสู่สาธารณะ ซึ่งมันทำให้เกิดความโปร่งใสและความเท่าเทียม ทุกๆคนสามารถรับประโยชน์จาก whitepaper ได้เหมือนกัน เช่น นักลงทุนตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้นโดยการอ่าน whitepaper นักพัฒนาสามารถตัดสินใจในการเข้าร่วมโปรเจคโดยอ่าน whitepaper
ตัวอย่างของ whitepaper
whitepaper ของ Bitcoin
whitepaper ของ Bitcoin ได้เผยแพร่สู่สาธารณะในปี 2008 โดยบุคคลในนามแฝงชื่อว่า Satoshi Nakamoto โดย whitepaper มีชื่อว่า “Bitcoin : A Peer-to-Peer Electronic Cash System”
มีเนื้อหาโดยสรุปคือ ผู้คนสามารถใช้ Bitcoin เป็นเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มากกว่าระบบธนาคารแบบดั้งเดิม โดยในเนื้อหามีคำอธิบายเชิงเทคนิคว่าเครือข่าย Bitcoin ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งเงินหากันโดยไม่มีตัวกลางได้อย่างไร รวมถึง Bitcoin ยังมีการป้องกันการปิดกั้นและการ double spending
whitepaper ของ Ethereum
Vitalik Buterin เขียนและเผยแพร่ whitepaper ในปี 2014 แต่ก่อนหน้านั้นเขาเสนอไอเดียของ whitepaper ตั้งแต่ปี 2013 ใน blog ชื่อว่า “Ethereum: The Ultimate Smart Contract and Decentralized Application Platform “ เขาได้เสนอแนวคิดของบล็อกเชน ที่มีรูปแบบเป็นคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ ที่สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชั่นใดก็ได้หากมีเวลาและทรัพยากรเพียงพอ
whitepaper ของ Ethereum ได้อธิบายว่าจุดประสงค์ของมันต่างจาก Bitcoin อย่างไร Bitcoin มีฟังก์ชันเฉพาะในการชำระเงินแบบ peer-to-peer ส่วน Ethereum ได้นำเสนอแพลตฟอร์มที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์ (DApps) ได้ทุกประเภท ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มกู้ยืมคริปโทเคอร์เรนซี และ whitepaper ยังนำเสนอเทคโนโลยีที่ทำให้เป้าหมายของ Ethereum เป็นจริงได้ เช่น สัญญาอัจฉริยะ (DAOs)
ทิ้งท้าย
whitepaper ช่วยทำให้นักลงทุนทำความเข้าใจคริปโทเคอร์เรนซี เครือข่ายบล็อกเชน หรือโปรเจคต่างๆได้ แต่อย่างไรก็ตาม whitepaper ไม่ได้มีข้อกำหนดใดๆ ไม่ได้มีกฎรองรับ ซึ่งใครๆก็สามารถเขียนขึ้นมาได้ ดังนั้นถ้าเราต้องการศึกษาโปรเจคใดๆ การวิเคราะห์อย่างรอบคอบและรอบด้านเป็นสิ่งสำคัญ
Reference : academy.binance.com