ไทย จีน ฮ่องกง และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร่วมทดลองทำธุรกรรมข้ามพรหมแดนด้วยสกุลเงินดิจิทัล

 

สถาบันการเงินของ 4 ประเทศในเอเชียได้ทำการทดสอบการชำระเงินระหว่างประเทศโดยการใช้สกุลเงินดิจิทัลที่กำกับดูแลโดยรัฐ การชำระเงินระหว่างประเทศและธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในครั้งนี้ มีมูลค่ารวมกว่า 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ซึ่งการทดสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่อง โดยการมีส่วนร่วมของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ – Bank for International Settlement (BIS)

การทดสอบนี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 15 ส.ค. ถึง 23 ก.ย. โดยใช้สกุลเงินที่มีมูลค่าจริงในการทดสอบ องค์กรที่ดำเนินการได้ใช้แพลตฟอร์มบัญชีแยกประเภทที่ชื่อว่า Mbridge ในการประมวลผล ซึ่ง Mbridge เป็นโครงการการชำระเงินที่ริเริ่มโดยธนาคารกลางฮ่องกง ธนาคารแห่งประเทศไทย และ BIS ในปี 2019 ส่วนธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีนและธนาคารกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าร่วมโครงการนี้ในปี 2021
 

ในขณะที่ดำเนินการทดลอง ธนาคารพาณิชย์ 20 แห่งได้ใช้แพลตฟอร์ม Mbridge ในการชำระเงินประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการค้าข้ามพรมแดน โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ ธนาคารในประเทศจีน ธนาคารในฮ่องกง ธนาคารในอาบูดาบี และธนาคาร SCB ของไทย

โดยธนาคารของจีนใช้สกุลเงินหยวนดิจิทัล (eCNY) ส่วนฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย ได้ใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ในการทดสอบ รายงานไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสกุลเงินอื่นๆที่ใช้
 

ซึ่งประเทศอื่นๆอย่างรัสเซียก็มีแผนในการสร้างสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองเช่นกัน โดยรัสเซียตั้งใจจะใช้ รูเบิลดิจิทัลในการทำธุรกรรมข้ามประเทศกับจีน

โดย Bank for International Settlement (BIS) ได้กล่าวว่ารายงานฉบับเต็มที่เกี่ยวข้องกับความคืบหน้าของโครงการนี้จะออกในเดือนตุลาคม รายงานจะครอบคลุมประเด็นต่างๆเช่น การออกแบบเชิงเทคนิค กฎหมาย นโยบาย และข้อพิจารณาด้านข้อบังคับอื่นๆ และแผนในอนาคตสำหรับแพลตฟอร์ม Mbridge