แม้คนส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Strategy และ Tesla แต่บริษัทอย่าง Aker ASA, Méliuz และ Rumble กำลังเก็บบิตคอยน์เข้าพอร์ตเงียบๆ แบบไม่เป็นข่าว
บิตคอยน์ไม่ใช่แค่สินทรัพย์เก็งกำไรอีกต่อไป
ตอนนี้บิตคอยน์กำลังเปลี่ยนบทบาทจาก “ของเล่นนักลงทุน” กลายเป็น “ทรัพย์สินหลักในงบดุลของบริษัท” ไปแล้ว
บริษัทอย่าง Strategy และ Metaplanet ที่ซื้อ BTC จำนวนมากอาจตกเป็นข่าว แต่ในเงามืดยังมีอีกหลายบริษัทที่ทยอยสะสม BTC แบบเงียบๆ โดยไม่ประกาศชัดเจน
บางบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมไอที บางแห่งก็อยู่ในสายสุขภาพหรือบริการ แต่จุดร่วมคือพวกเขาเริ่มจัดสรรงบดุลบางส่วนให้กับบิตคอยน์ โดยมีเป้าหมายต่างกัน เช่น ป้องกันเงินเฟ้อ กระจายความเสี่ยง หรือเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัล
ข้อมูลจาก BitcoinTreasuries.Net ระบุว่า แค่เดือนมิถุนายน 2025 มีบริษัทใหม่ถึง 26 รายที่เริ่มถือครอง BTC ทำให้ ณ วันที่ 4 ก.ค. 2025 มีบริษัทที่ถือบิตคอยน์อยู่รวมแล้วถึง 250 บริษัท
ทำไมบริษัทต่างๆ ถึงหันมาถือ BTC?
- ป้องกันเงินเฟ้อ: บิตคอยน์มีอุปทานจำกัด 21 ล้านเหรียญ จึงไม่ถูกพิมพ์เพิ่มแบบเงินกระดาษ
- สภาพคล่องสูง: บิตคอยน์สามารถซื้อขายได้ 24/7 ต่างจากอสังหาฯ หรือพันธบัตร
- ได้แรงบันดาลใจจาก Strategy: Strategy เป็นบริษัทแรกๆ ที่นำ BTC เข้า Balance Sheet ตั้งแต่ปี 2020 และใช้ทั้งเงินสดและการกู้ยืมเพื่อซื้อเพิ่มเรื่อยๆ
- กระจายความเสี่ยงของพอร์ต: BTC ไม่ได้มีความสัมพันธ์ตรงกับตลาดหุ้นหรือทอง ทำให้เสริมความมั่นคงของพอร์ตได้ในมุมมองของผู้บริหารฝ่ายการเงิน
10 บริษัทมหาชนที่คุณอาจไม่รู้ว่าเก็บ BTC ไว้ในงบดุล
1. BitFuFu (FUFU – Nasdaq, สิงคโปร์)
- ถือครอง: 1,709 BTC (~185.85 ล้านดอลลาร์)
- คิดเป็น 40% ของมูลค่าบริษัท
- เป้าหมาย: ขยายการทำเหมือง, เพิ่ม Hashrate และสะสม BTC อย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ทั้งเป็นรายได้และคลังสะสมระยะยาว
2. Cipher Mining (CIFR – สหรัฐฯ)
- ถือครอง: 1,063 BTC (~115.49 ล้านดอลลาร์)
- 40% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: เหมืองคริปโตพลังงานสะอาด นำ BTC มาใช้เป็นทุนหมุนเวียน และเน้นความยั่งยืนในธุรกิจ
3. KULR Technology Group (KULR – สหรัฐฯ)
- ถือครอง: 920 BTC (~100.04 ล้านดอลลาร์)
- 40% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: กระจายทุนสำรอง ป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน และเน้นภาพลักษณ์บริษัทนวัตกรรม
4. Aker ASA (AKER.OL – นอร์เวย์)
- ถือครอง: 754 BTC (~82 ล้านดอลลาร์)
- 1.7% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: ปรับพอร์ตอย่างสมดุล ใช้ BTC เป็นเครื่องมือป้องกันค่าเงินที่ผันผวน
5. Méliuz (CASH3.SA – บราซิล)
- ถือครอง: 595.7 BTC (~64.8 ล้านดอลลาร์)
- 45% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: นำ 10% ของเงินสดในคลังไปเก็บ BTC เพื่อป้องกันความผันผวนของเงินในบราซิล
6. MercadoLibre (MELI – ละตินอเมริกา)
- ถือครอง: 570.4 BTC (~62 ล้านดอลลาร์)
- เป้าหมาย: ป้องกันความผันผวนของสกุลเงินในภูมิภาค และเสริมการใช้งานร่วมกับระบบชำระเงินของบริษัท
7. Samara Asset Group (SRAG.DU – มอลตา)
- ถือครอง: 525 BTC (~57.3 ล้านดอลลาร์)
- 28% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: ใช้ BTC เป็นสินทรัพย์สำรอง ชูภาพลักษณ์บริษัทด้านสินทรัพย์ดิจิทัล
8. Jasmine International PCL (JAS.BK – ไทย)
- ถือครอง: 506.4 BTC (~55.25 ล้านดอลลาร์)
- 15.9% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: ผสาน BTC เข้ากับธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์และเหมืองผ่านบริษัทย่อย (JTS)
9. Alliance Resource Partners (ARLP – สหรัฐฯ)
- ถือครอง: 481.9 BTC (~55.8 ล้านดอลลาร์)
- 1.5% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: กระจายรายได้จากพลังงานสู่ BTC เพื่อรักษาค่าทุนในช่วงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน
10. Rumble (RUM – แคนาดา)
- ถือครอง: 210.8 BTC (~22.93 ล้านดอลลาร์)
- 0.8% ของ Market Cap
- เป้าหมาย: เสริมภาพลักษณ์การสนับสนุนโลก Web3 และการกระจายอำนาจทางเทคโนโลยี
Reference: Cointelegraph